วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS 02-24-06-2552

Array and Record
สรุป
อาร์เรย์ คือ แถวหรือลำดับ นั่นคือแถวหรือลำดับของข้อมูลชนิดเดียวกันที่มีจำนวนหลายตัวนำมาเก็บในตัวแปรชื่อเดียวกัน แต่ต่างกันที่ตัวบอกลำดับ ซึ่งเรียกว่า ตัวห้อย หรือตัว Subscript ของตัวแปรนั้น อาร์เรย์มีจำนวนมิติตามจำนวนของดัชนีที่ใช้ในการเข้าถึงค่าที่เก็บในอาร์เรย์ ตัวอย่างเช่น
อาร์เรย์หนึ่งมิติ หรือ อาร์เรย์เชิงเส้น ต้องการดัชนีหนึ่งตัวในการเข้าถึงตำแหน่งในอาร์เรย์
อาร์เรย์สองมิติ หรือ อาร์เรย์สี่เหลี่ยม ต้องการดัชนีสองตัวในการเข้าถึงตำแหน่งในอาร์เรย์ ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลอย่างเช่น เมตริกซ์ ตาราง และ ข้อความหลายๆข้อความ เป็นต้น
การสร้าง Array ขึ้นมาใช้งานทำได้ดังนี้
1. ชื่อของ Array
2. ขนาดของ Array แต่ละช่อง และมิติของ Array
3. ค่าสูงสุด ( Upper Bound) และค่าต่ำสุด (Lower Bound) ในแต่ละมิติ ในการประกาศตัวแปรหรืออาร์เรย์ เราสามารถทำการกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรหรืออาร์เรย์นั้นได้

Data Structure Introduction
ข้อมูล หมายถึง ตัวเลข ตัวอักษรโครงสร้างข้อมูล หมายถึง ข้อมูลต่างๆนำมาประกอบโครงสร้างออกแบบให้เป็นระบบ การเขียน loop Do while การเขียนผังงานโปรแกรมโครงสร้างสัญลัษณ์
โครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพเป็นโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานทั่วไปที่ทุกภาษาควรจะมีให้ใช้ เช่น จำนวนเต็ม จำนวนจริง ตัวอักขระ แถวลำดับ ระเบียนข้อมูล และแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
2.โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจากจินตนาการของผู้ใช้ เช่น ลิสต์ สแตก คิว ทรี และกราฟ เป็นต้น

struct camera
{
char name[30];
char generation[15];
char color[10];
char resolution[20];
float pixels;
float high;
float weight;
int price;
}

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น